ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินงานโดย Innovation Hub KKU จัดกิจกรรม Workshop ภายใต้โครงการ “การสร้างนวัตกรรมจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี มข. สู่เชิงพาณิชย์/สังคม” Workshop Innovation Process เมื่อวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องมีตติ้งรูม 3 สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการทั้งบุคคลทั่วไป อาจารย์ และนักวิจัย จำนวนมาก โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ เป็นประธานกล่าวเปิด ร่วมกับนางจิราภรณ์ เหลืองไพรินทร์ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น และวิทยากรบรรยายในหัวข้อ Innovation Plan and Future KKU หลังจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการและหน่วยงานภายใต้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชี้แจงแผนดำเนินงาน และ วางแผนการดำเนินงานร่วมกับผู้เข้าร่วม Workshop ผ่าน 4 กิจกรรม คือ
1.กิจกรรมที่ 1 Workshop การสร้างนวัตกรรมจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี มข. สู่เชิงพาณิชย์/สังคม โดยมี 6 ข้อหัว คือ Innovation Plan and Future KKU, Technology Evaluation Canvas (TEC) and IP, Business Model Innovation (BMI), Objective and Key Results (OKRs), Design Sprint และ Agile and Scrum
2.กิจกรรมที่ 2 Workshop Food Innovation การสร้างนวัตกรรมอาหารจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี มข.สู่เชิงพาณิชย์/สังคม
3.กิจกรรมที่ 3 Workshop Agriculture Innovation การสร้างนวัตกรรมทางการเกษตรจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี มข.สู่เชิงพาณิชย์/สังคม
4.กิจกรรมที่ 4 Workshop Health care Innovation การสร้างนวัตกรรมการแพทย์จากองค์ความรู้และเทคโนโลยี มข.สู่เชิงพาณิชย์/สังคม
โดยการจัดโครงการ “การสร้างนวัตกรรมจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี มข. สู่เชิงพาณิชย์/สังคม” Workshop Innovation Process ครั้งนี้คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้และได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์สู่การต่อยอดหลากหลายศาสตร์ จากวิทยากรที่มากด้วยความเชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการจริง ที่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้กับอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการพัฒนาและร่วมสร้างเสริมสิ่งที่สังคมต้องการเพื่อการยกระดับชีวิตให้ดีขึ้นการจัด Workshop ดังกล่าว เป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง ภายใต้ OKRs ของฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ เพื่อสร้างฐานนักวิจัยให้เข้มแข็งและผลิตผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับสังคมและประเทศ และขยายผลออกสู่เชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังเป็นบันไดสู่การต่อยอดในการออกแบบนวัตกรรม ทางการแพทย์ ทางการเกษตร และทางอาหาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควบคู่กับสังคมในยุคปัญญาประดิษฐ์ได้เหมาะสม และก่อเกิดคุณค่าแก่สังคมต่อไป
ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ
นางจิราภรณ์ เหลืองไพรินทร์ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อมูล/ภาพ : นางสาวทัศนีย์ สีสันงาม