มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย กลุ่มวิจัยความเป็นเลิศเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมสร้าง “เครื่อง KKU Mobile CoVid-19 Killer และหุ่นยนต์ผู้ช่วยตัวน้อย” พร้อมมอบแด่ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีรับมอบ ร่วมด้วย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.พญ.ผกาพรรณ เกียรติชูสกุล หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีรับมอบนวัตกรรมด้านการแพทย์ที่ได้รับการสร้างสรรค์และพัฒนาโดยกลุ่มวิจัยความเป็นเลิศเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ นำโดย ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ร่วมกับ ผศ.ดร.ชัชชัย คุณบัว ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ผศ.นพ.รัฐพล อุปลา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะทำงาน ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำหรับ “เครื่อง KKU Mobile CoVid-19 Killer และหุ่นยนต์ผู้ช่วยตัวน้อย” โดยกลุ่มวิจัยความเป็นเลิศเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อโดยเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยจากเชื้อโรค และความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงคนไข้และผู้รับบริการในโรงพยาบาลในการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง รวมถึงเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์แลพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยให้เปิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยอาศัยการทำงานและเทคโนโลยี พร้อมมีการวางแผนเพื่อต่อยอดและพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถตอบสนองความต้องการของแพทย์และพยาบาล รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างครบวงจรในอนาคต
เครื่อง KKU Mobile CoVid-19 Killer และหุ่นยนต์ผู้ช่วยตัวน้อย
สำหรับ “เครื่อง KKU Mobile CoVid-19 Killer และหุ่นยนต์ผู้ช่วยตัวน้อย” โดยกลุ่มวิจัยความเป็นเลิศเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อโดยเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยจากเชื้อโรค และความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงคนไข้และผู้รับบริการในโรงพยาบาลในการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง รวมถึงเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์แลพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยให้เปิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยอาศัยการทำงานและเทคโนโลยี พร้อมมีการวางแผนเพื่อต่อยอดและพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถตอบสนองความต้องการของแพทย์และพยาบาล รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างครบวงจรในอนาคต
ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สิ่งที่สำคัญมากในการรักษาความปลอดภัยเบื้องต้นคือการฆ่าเชื้อ จึงได้นำความรู้จากการวิจัยและการปฏิบัติงานในห้องแล็ปมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานวัตกรรม โดยอาศัยหลอดยูวีสร้างแสงยูวี-ซีที่สามารถฆ่าเชื้อได้ จึงได้มีการพัฒนา เครื่อง KKU Mobile CoVid-19 Killer เป็นชุดโคมไฟประกอบไปด้วยหลอด UVC ที่ความถึ่ 253.7 นาโมเมตร การใช้งานประกอบด้วย เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันอันตรายกับคนที่เข้าใกล้กับชุดอุปกรณ์ ภายในประกอบได้ด้วย UPS ขนาด 1000 วัตต์ สามารถทำงานได้มากกว่า 2 ชม นอกจากนี้มีระบบป้องกันกรณีฉุกเฉินเพื่อปิดชุดอุปกรณ์ ด้วยการตัดไฟของโคมทั้งหมดออก โดยการใช้สามารถใช้ได้ 2 รูปแบบ ทำงานคล้ายร่ม สามารถกางและหุบลงได้ทำงานได้ใน 2 สภาวะ คือ 1) การใช้ในเมื่อพับชุดโคมไฟ เข้าเพื่อนำไปใช้ในลิฟท์ หรือในห้องที่ต้องการฆ่าเชื้อ การฆ่าเชื้อขึ้นอยู่กับระยะห่างของโคมไปยังผนัง เช่น หากระยะ 10 ซม. จะใช้เวลาประมาณ 10 นาที แต่หาก ระยะ 50 ซม จะใช้เวลาประมาณ 20 นาที และ 2) การใช้งานเมื่อกางยกแขนขึ้น เพื่อนำไปฆ่าเชื้อบนเตียงผู้ป่วย โดยระยะเวลาทำงานประมาณ 15 นาที ที่ระยะห่าง 50 ซม. โดยเป้าหมายแรกในพัฒนานวัตกรรมคือใช้กับลิฟต์ โดยหลักการทำงานของเครื่องต้องสามารถยืดหยุ่นและใช้งานในพื้นที่ที่จำกัดได้ และไม่ใช้ไฟฟ้า เมื่อพัฒนาอุปกรณ์แล้วจะทำให้เกิดความคุ้มค่ามากทั้งสุดจึงได้นำไปใช้กับพื้นที่อื่นๆ ที่เป็นจุดเสี่ยงและแหล่งสะสมของเชื้อโรค อาทิ หอผู้ป่วยใน ห้องตรวจต่าง ๆ หรือสถานที่ที่มีคนใช้งานจำนวนมาก
ผศ.ดร.ชัชชัย คุณบัว ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผศ.ดร.ชัชชัย คุณบัว ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงแนวคิดในการพัฒนาว่า สำหรับแนวคิดในการพัฒนาและการสร้างเครื่อง KKU Mobile CoVid-19 Killer สิ่งสำคัญคือสามารถเคลื่อนย้ายได้ โดยอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ และสามารถใช้งานได้ 1- 2 ชั่วโมง อีกทั้งสามารถนำไปใช้งานได้ในลิฟต์ หรือแม้แต่พื้นที่โล่ง โดยมีเซนเซอร์ในการตรวจจับเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งข้อดีในการใช้งานอีกประการคือสามารถนำไปติดตั้งในห้องเพื่อฆ่าเชื้อ สามารถยกขึ้นได้เพื่อนำไปฆ่าเชื้อที่เตียง สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็น แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย
ผศ.นพ.รัฐพล อุปลา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้าน ผศ.นพ.รัฐพล อุปลา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงการพัฒนาหุ่นยนต์ผู้ช่วยตัวน้อยว่า วัตถุประสงค์หลักที่พัฒนาหุ่นยนต์ผู้ช่วยตัวน้อย เพื่อนำมาใช้แทนบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะกับผู้ป่วยโควิด-19 โดยสามารถเข้าไปเยี่ยมไข้ผู้ป่วย อาทิ การพุดคุยกับผู้ป่วย ตรวจร่างกาย ตรวจจับอ๊อกซิเจน วัดชีพจร วัดไข้ เปรียบเสมือนผู้ช่วยตัวน้อยที่สามารถแทนแพทย์ และพยาบาล ที่มีความเสี่ยงและต้องสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง อีกทั้งลดการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ อาทิ ชุด PPE โดยเมื่อแพทย์หรือพยาบาลจะต้องมีการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรงจำเป็นต้องสวมชุดเพื่อป้องกันเชื้อ โดยที่หุ่นยนต์ดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวก สามารถเคลื่อนที่ได้และสามารถบังคับได้ ทั้งนี้ในอนาคตจะมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถใช้งานได้หลากหลายและครบวงจรยิ่งขึ้น อาทิ สามารถวัดความดัน ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ฟังปอดหรือสเต็ตโทสโคป และสามารถปฏิบัติงาน พร้อมอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของแพทย์และพยายามได้มากยิ่งขึ้น
กลุ่มวิจัยความเป็นเลิศเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์
ข่าว ณัฐวุฒิ จารุวงศ์