• หน้าหลัก
    Home
  • เกี่ยวกับเรา
    About Us
    • โครงสร้างองค์กร Organization Chart
    • กลยุทธ์ STRATEGY
    • พันธกิจ MISSION
  • บุคลากร
    Staff
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    • บุคลากรศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา
    • บุคลากรสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์
    • บุคลากรศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ
    • บุคลากรพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ อพ.สร.
    • บุคลากรโครงการ Innovation Hub KKU
  • ประกาศ
    Announcement
  • MOU/
    MOA
  • บริการ
    Services
  • หน่วยงาน
    Organizations
  • ติดต่อเรา
    Contact us
  • สำหรับบุคลากร
    Staff only

หมวดหมู่

  • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • นวัตกรรมเครื่องสำอาง
  • นวัตกรรมยา
  • นวัตกรรมดิจิตอล

น้ำยาช่วยยืดอายุผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว

6 มี.ค. 2564 35

ชื่อผลงาน

น้ำยาช่วยยืดอายุผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว

นักวิจัย

ศาสตราจารย์ อรุณรัตน์ ฉวีราช และคณะ

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

อยู่ระหว่างการขอรับสิทธิบัตร

เลขที่คำขอ 1903002664 ยื่นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2562

ชื่อผู้ทรงสิทธิ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หน่วยงานต้นสังกัด

คณะวิทยาศาสตร์

จุดเด่นผลงาน

- ช่วยยืดระยะเวลาการเก็บผลไม้หลังเก็บเกี่ยว

- เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ใช้วัตถุภายในประเทศ ต้นทุนต่ำ ใช้งานสะดวก

- มีผลการทดสอบในระดับห้องทดลอง ไม่มีพิษทั้งในระดับเซลล์และระดับโมเลกุล

- มีการทดสอบจริงกับผลไม้ 2 ชนิดคือ กล้วยและมะม่วง

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้นของผลงาน

        สารเบต้าอาร์บูติน (β-arbutin) คือ อนุพันธ์ของไฮโดรควิโนนที่พบในพืชหลายชนิด และเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่จะสกัดมาจากผล เปลือก ใบ และส่วนต่างๆของพืชหลายชนิด ซึ่งพืชส่วนมากมักเป็นพืชที่พบในต่างประเทศ เช่น ยุโรป แคนาดา และสวิตเซอร์แลนด์ ผลไม้ที่มีอาร์บูติน เช่น เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ มัลเบอร์รี่ และลูกแพร์ เป็นต้น ซึ่งสารนี้ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส อันเป็นเอนไซม์สำคัญที่กระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีเมลานินที่ก่อให้เกิดจุดด่างดำบนผิวหนัง เช่นเดียวกันกับเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดสที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของผลไม้ เป็นการเปลี่ยนจากสีเดิมของผลไม้เป็นสีน้ำตาลเมื่อเซลล์ถูกทำลาย ซึ่งเป็นกลุ่มเอนไซม์ไทโรซิเนส เป็นอีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของสารฟีนอลหลายชนิดที่เปลือกผลไม้ให้เปลี่ยนไปเป็นโอ-ควิโนน และทำให้โอ-ควิโนน ต่อกันเป็นสายยาวอย่างรวดเร็วเพื่อผลิตเม็ดสีดำ น้ำตาล หรือแดง คือพอลีฟีนอลนั่นเอง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกระบวนการผลไม้เป็นสีน้ำตาลหลังการเก็บเกี่ยว

        จากการศึกษาสารเคมีในพืชที่มีปริมาณเบต้าอาร์บูติน (β-arbutin) สูงมากและสารสำคัญคือไทโคฟีรอลซึ่งเป็นสารในกลุ่มวิตามินอีในปริมาณสูง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและลดการแก่ของเซลล์

        ดังนั้น ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาสูตรส่วนผสมสำหรับยับยั้งการเกิดจุดดำหรือน้ำตาลของเปลือกผลไม้จากวัตถุดิบธรรมชาติที่พบในประเทศไทย เพื่อใช้ผสมน้ำแล้วนำไปแช่ผลไม้ก่อนนำไปเก็บรักษา

 

สอบถามเพิ่มเติม : จินดาพร พลสูงเนิน / พรรณรวี กบิลพัฒน์

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี อาคาร 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

โทรศัพท์ 043-202733 / 086-4514455 เว็บไซต์ : https://ip.kku.ac.th อีเมล์ : chinph@kku.ac.th / panravee@kku.ac.th

KKUINNOPRISE

พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ของมหาวิทยาลัยสู่สังคมและพาณิชย์ทั้งภาครัฐและเอกชน

แหล่งทุน Grantiong Agency

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช)

National Research Council of Thailand (NRCT)

ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

สอวช

สำนักงานนวัตกรรม

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักงานอธิการบดี
อาคาร 2 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

Tel: 043-009700 ต่อ 42129

Tel: 084-3931146

Email: kku.innoprise@gmail.com

Working Hours: 08.30 น. - 16.30 น.

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • ศูนย์สื่อการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • ศูนย์บริการสู่ชุมชน สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน สังกัดวิศวกรรมศาสตร์
  • ศูนย์ภาษาอาเซียน สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ศูนย์บริการจัดการด้านโรงแรม สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก (Academic Clinical Research Office, ACRO) สังกัดคณะแพทยศาสตร์
  • สถานบริการสุขภาพเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด สังกัดคณะเทคนิคการแพทย์
  • สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน สังกัดสำนักงานอธิการบดี
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
10,119

© Copyright KKU. All Rights Reserved