• หน้าหลัก
    Home
  • เกี่ยวกับเรา
    About Us
    • โครงสร้างองค์กร Organization Chart
    • กลยุทธ์ STRATEGY
    • พันธกิจ MISSION
  • บุคลากร
    Staff
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    • บุคลากรศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา
    • บุคลากรสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์
    • บุคลากรศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ
    • บุคลากรพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ อพ.สร.
    • บุคลากรโครงการ Innovation Hub KKU
  • ประกาศ
    Announcement
  • MOU/
    MOA
  • บริการ
    Services
  • หน่วยงาน
    Organizations
  • ติดต่อเรา
    Contact us
  • สำหรับบุคลากร
    Staff only

หมวดหมู่

  • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • นวัตกรรมเครื่องสำอาง
  • นวัตกรรมยา
  • นวัตกรรมดิจิตอล

สูตรส่วนผสมสำหรับผลิตกระถาง

24 ก.ย. 2563 85

ชื่อผลงานวิจัย

สูตรส่วนผสมสำหรับผลิตกระถาง

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

อยู่ระหว่างการขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903001890 ยื่นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562

ชื่อผู้ทรงสิทธิ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชื่อนักวิจัย

นางสาวพัณอรณ์ ขจัดภัย และคณะ

หน่วยงานต้นสังกัด

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้นของผลงาน

        ปัจจุบันมีการใช้กระถางพลาสติกจำนวนมาก แต่เป็นการสร้างผลกระทบตามมาภายหลัง เนื่องจากการย่อยสลายของพลาสติกใช้เวลานานถึง 450 ปี แตกต่างจากกระถางต้นไม้จากธรรมชาติที่ใช้เวลาย่อยสลายเพียง 2-3 ปี รวมทั้งสามาถนำไปปลูกลงดินพร้อมกับต้นไม้โดยไม่ต้องย้ายต้นไม้ออกจากระถาง ทำให้ลดการกระทบกระเทือนของรากไม้ จึงได้มีการศึกษาและผลิตกระถางสำหรับการเพาะปลูกต้นไม้จากธรรมชาติที่หลากหลาย เช่น กระถางต้นไม้ดินเผาจากชานอ้อย กระถางต้นไม้ที่มีส่วนผสมของใบยาสูบ กระถางต้นไม้จากรำข้าว แกลบ และฟางข้าว เป็นต้น

        หญ้ารูซี่ หรือหญ้าคองโก จัดเป็นหญ้าพื้นเมืองของแอฟริกาที่ไทยนำเข้ามาปลูกสำหรับเป็นพืชเลี้ยงโค กระบือ โดยนิยมปลูกมากในภาคอีสาน และภาคเหนือ เนื่องจากปลูกง่าย โตเร็ว และให้ผลผลิตต่อไร่สูง จากการศึกษากระบวนการคัดแยกเมล็ดหญ้ารูซี่ พบว่าปริมาณของเมล็ดหญ้ารูซี่ที่ไม่สมบูรณ์เหลือทิ้งจากกระบวนการคัดแยกเป็นจำนวนมาก โดยเมล็ดหญ้ารูซี่ที่ไม่สมบูรณ์จพถูกกำจัดด้วยการเผาทิ้ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังเป็นการทำลายชั้นบรรยากาศ อันเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะโลกร้อนอีกด้วย

        ผู้ประดิษฐ์จึงได้ศึกษาและพัฒนาสูตรส่วนผสมสำหรับผลิตกระถาง โดยนำเมล็ดหญ้ารูซี่มาเป็นส่วนประกอบ ทำให้กระถางเก็บกักน้ำได้ดี ได้กระถางที่มีราคาถูกและไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่พืช

 

จุดเด่นของผลงาน

-ใช้วัตถุดิบที่ย่อยสลายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดูดซับน้ำได้ดี มีความคงทน

-มีผลการวิจัยในระดับห้องทดลอง พบว่ากระถางเก็บน้ำได้ดีและไม่เกิดเชื้อราขึ้นในกระถางและในดิน

-มีต้นทุนในการผลิตต่ำ

 

สอบถามเพิ่มเติม : พิชชานันท์ พงษ์พรรณากูล/ จินดาพร พลสูงเนิน/ พรรณรวี กบิลพัฒน์

สำนักงานบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี อาคาร 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

โทรศัพท์ 043-202733 / 086-4514455 เว็บไซต์ : https://ip.kku.ac.th อีเมล์ : chinph@kku.ac.th / pitcpo@kku.ac.th /panravee@kku.ac.th

KKUINNOPRISE

พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ของมหาวิทยาลัยสู่สังคมและพาณิชย์ทั้งภาครัฐและเอกชน

แหล่งทุน Grantiong Agency

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช)

National Research Council of Thailand (NRCT)

ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

สอวช

สำนักงานนวัตกรรม

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักงานอธิการบดี
อาคาร 2 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

Tel: 043-009700 ต่อ 42129

Tel: 084-3931146

Email: kku.innoprise@gmail.com

Working Hours: 08.30 น. - 16.30 น.

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • ศูนย์สื่อการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • ศูนย์บริการสู่ชุมชน สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน สังกัดวิศวกรรมศาสตร์
  • ศูนย์ภาษาอาเซียน สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ศูนย์บริการจัดการด้านโรงแรม สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก (Academic Clinical Research Office, ACRO) สังกัดคณะแพทยศาสตร์
  • สถานบริการสุขภาพเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด สังกัดคณะเทคนิคการแพทย์
  • สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน สังกัดสำนักงานอธิการบดี
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
11,569

© Copyright KKU. All Rights Reserved