• หน้าหลัก
    Home
  • เกี่ยวกับเรา
    About Us
    • โครงสร้างองค์กร Organization Chart
    • กลยุทธ์ STRATEGY
    • พันธกิจ MISSION
  • บุคลากร
    Staff
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    • บุคลากรศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา
    • บุคลากรสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์
    • บุคลากรศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ
    • บุคลากรพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ อพ.สร.
    • บุคลากรโครงการ Innovation Hub KKU
  • ประกาศ
    Announcement
  • MOU/
    MOA
  • บริการ
    Services
  • หน่วยงาน
    Organizations
  • ติดต่อเรา
    Contact us
  • สำหรับบุคลากร
    Staff only

หมวดหมู่

  • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • นวัตกรรมเครื่องสำอาง
  • นวัตกรรมยา
  • นวัตกรรมดิจิตอล

เครื่องสับอ้อยในแนวแกนนอน

7 มี.ค. 2564 41

ชื่อผลงานวิจัย

เครื่องสับอ้อยในแนวแกนนอน

จุดเด่นของผลงาน

-เครื่องมีขนาดเล็กและสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย

-มีชุดปิดครอบทำด้วยเหล็กป้องกันการฟุ้งกระจายของอ้อยสับ

-อาใบมีดทำมุมตั้งฉากกับแนวลำอ้อยทำให้ประสิทธิภาพการสับมีประสิทธิภาพสูงสุด

-ชุดใบมีดมีขายตามท้องตลาดสามารถนำมาใช้แทนและหาได้ง่าย

-สามารถถอดทำความสะอาดชุดอุปกรณ์การสับได้ง่ายและรวดเร็ว

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

อยู่ระหว่างการขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903002833 ยื่นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562

ชื่อผู้ทรงสิทธิ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชื่อนักวิจัย

รองศาสตราจารย์ศุภสิทธิ์ คนใหญ่ และคณะ

หน่วยงานต้นสังกัด

คณะวิศวะกรรมศาสตร์

ที่มาข้อมูลเบื้องต้นของผลงาน

        การตรวจสอบคุณภาพอ้อยเพื่อกำนหดคุณภาพความหวานสำหรับการกำหนดราคาเป็นโจทย์ที่ท้าทายเนื่องจากอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล การศึกษาปริมาณน้ำตาลในอ้อยจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยวิธีการวิเคราะห์ใช้รังสีอินฟาเรดช่วงคลื่นสั้นส่องเข้าไปในอ้อยสับ (หรือวัสดุการเกษตร) รังสีจะถูกดูดกลืน (absorb) โดยอ้อยสับและเกิดการสั่นสะเทือน (vibration) แล้วตรวจวัดค่าต่างๆด้วยเทคนิคทางสเปกโตรสโกปี (NIR spectroscopy)

        การสับอ้อยให้มีขนาดใกล้เคียงกันจึงมีความสำคัญเพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่แม่นยำ เครื่องสับอ้อยที่มีอยู่ทั่วไปมีการติดตั้งใบมีดเพื่อสับ เฉือน โดยการใส่อ้อยในแนวกิ่งและออกด้านข้าง แต่เนื่องจากอ้อยมีความแข็งทำให้ใบมีดเสียหายเร็ว และยังมีความสม่ำเสมอของอ้อยสับน้อย

       ผู้ประดิษฐ์จึงพัฒนาเครื่องสับอ้อยในแกนนอนเพื่อใช้ในการสับอ้อยให้มีขนาดสม่ำเสมอกัน สำหรับนำไปใช้ในการวัดปริมาณน้ำตาลในอ้อย ทำให้ได้ผลการทดสอบที่แม่นยำมากขึ้น

 

สอบถามเพิ่มเติม : พิชชานันท์ พงษ์พรรณากูล/ จินดาพร พลสูงเนิน/ พรรณรวี กบิลพัฒน์

สำนักงานบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี อาคาร 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

โทรศัพท์ 043-202733 / 086-4514455 เว็บไซต์ : https://ip.kku.ac.th อีเมล์ : chinph@kku.ac.th / pitcpo@kku.ac.th /panravee@kku.ac.th

KKUINNOPRISE

พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ของมหาวิทยาลัยสู่สังคมและพาณิชย์ทั้งภาครัฐและเอกชน

แหล่งทุน Grantiong Agency

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช)

National Research Council of Thailand (NRCT)

ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

สอวช

สำนักงานนวัตกรรม

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักงานอธิการบดี
อาคาร 2 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

Tel: 043-009700 ต่อ 42129

Tel: 084-3931146

Email: kku.innoprise@gmail.com

Working Hours: 08.30 น. - 16.30 น.

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • ศูนย์สื่อการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • ศูนย์บริการสู่ชุมชน สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน สังกัดวิศวกรรมศาสตร์
  • ศูนย์ภาษาอาเซียน สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ศูนย์บริการจัดการด้านโรงแรม สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก (Academic Clinical Research Office, ACRO) สังกัดคณะแพทยศาสตร์
  • สถานบริการสุขภาพเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด สังกัดคณะเทคนิคการแพทย์
  • สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน สังกัดสำนักงานอธิการบดี
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
10,119

© Copyright KKU. All Rights Reserved