• หน้าหลัก
    Home
  • เกี่ยวกับเรา
    About Us
    • โครงสร้างองค์กร Organization Chart
    • กลยุทธ์ STRATEGY
    • พันธกิจ MISSION
  • หน่วยงาน
    Organizations
    • ศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม TIMC
    • ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา IPC
    • สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ SCIENCE PARK
    • ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    • พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ NATURAL MISTORY MUSEUM
    • สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน Groundwater Resources Research Institute
    • Innovation Hub KKU
    • โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน
    • โรงงานต้นแบบเกษตรและอาหาร
    • โรงเรือนต้นแบบผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ของแมลงโปรตีน(Black Soldier Fly)
    • โรงงานต้นแบบไบโอไฮเทน
  • บุคลากร
    Staff
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    • บุคลากรศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา
    • บุคลากรสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์
    • บุคลากรศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    • บุคลากรพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ อพ.สร.
    • บุคลากรโครงการ Innovation Hub KKU
  • การยื่นคำขอ
    applicant
    • การยื่นคำขอจดทะเบียน VAT
    • การจดทะเบียนพาณิชย์
    • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท DBD
    • การยื่นขอ อย.
    • การยื่นขอ ตั้งโรงงาน.
    • ถามตอบเรื่องภาษี คลินิกภาษีกระทรวงการคลัง
  • MOU/
    MOA
  • บริการออนไลน์
    E-Services
    • ระบบชำระเงินออนไลน์ E-Payment - ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ
    • ระบบจัดการ OKR - ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ
  • ติดต่อเรา/รับข้อร้องเรียน
    Contact us
  • Direct contact :

    bthida@kku.ac.th

หมวดหมู่

  • ข่าวทั่วไป
  • ประชาสัมพันธ์

มข. เปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แปลผลอายุร่างกายจากผลตรวจเลือด มุ่งเป้าศาสตร์การชะลอวัย

17 ม.ค. 2566 102

   

17 มกราคม 2566  มหาวิทยาลัยขอนแก่นแถลงข่าวความสำเร็จและการเปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แปลผลอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ ตับ ไต หัวใจ ตับอ่อนจากผลตรวจเลือด ซึ่งสะท้อนภาวะร่างกายแบบเข้าใจง่ายรองรับการใช้งานในกลุ่มสถานบริการสุขภาพ/บริษัท health technology รวมถึงการใช้งานรายบุคคลในรูปแบบแอพลิเคชั่นและเวบไซต์

ศาสตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า สภามหาวิทยาลัยและท่านอธิการบดีมีดำริให้นักวิจัยได้พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อรองรับ medical hub ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ทางมหาวิทยาลัยมีนวัตกรรมเกี่ยวกับ 1) อุปกรณ์ทางการแพทย์ (medical device) 2) ชุดตรวจโรค (Lab diagnostics) และ 3) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence; AI) มาใช้งานพัฒนานวัตกรรม “วันนี้มีโครงการที่ดีหนึ่งเกิดขึ้น เรียกว่า โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ (Health AI for Biological Age and Importance organs) หรือ AI for healthcare ซึ่งทีมนักวิจัยมาจากหลากหลายคณะ ทำงานร่วมกันโดยใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทำงานแบบบูรณาการสร้างนวัตกรรมจากฐานข้อมูลสุขภาพที่มีอยู่ซึ่งครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากเขตสุขภาพ 7 8 9 10 โดยใช้เหมืองข้อมูลสุขภาพดี 59,675 ชุด และฐานข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพเชิงลึกอีกประมาณสามพันรายนำมาประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ จนกระทั่งนำมาสู่การใช้ได้จริงในการประเมินอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ 4 อวัยวะได้แก่ ตับ ตับอ่อน ไต หัวใจ มีความแม่นยำเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน ร้อยละ 83.7 ในเพศหญิง และ 81.5 ในเพศชาย ตัวโปรแกรมนี้เป็นตัวช่วยให้บุคคลระมัดระวังเรื่องการพักผ่อน พฤติกรรมและการบริโภค โดยหวังว่าโปรแกรมนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนโดยรวมของประเทศได้”

นายแพทย์ชิษณุ สอาดสุด ผู้อำนวยการฝ่ายด้านการแพทย์ (Medical director) ในเครือ อาร์ไอเอ แลบอราทอรี่ ซึ่งได้ทดลองนำโปรแกรมประกอบการรายงานสุขภาพ กล่าวว่า “ผู้รับบริการตรวจสุขภาพเปิดใจรับผลตรวจของตนเองมากขึ้น มีความสนใจเปรียบเทียบค่าผลตรวจต่างๆ และในส่วนของแพทย์สามารถวางเป้าหมาย กลยุทธ์ และให้คำแนะนำได้ง่ายขึ้น สามารถกำหนดเป้าหมายสุขภาพที่มีขอบเขตชัดเจนร่วมกันได้ง่ายยิ่งขึ้น”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ที่มีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นแกนนำ ได้กล่าวว่า  นวัตกรรมนี้ได้สนับสนุนทุนวิจัยปีงบประมาณ 2561-2564 แก่คณะวิจัยในรูปแบบคลัสเตอร์หรือกลุ่มวิจัยที่มี ศาสตราจารย์พัชรี เจียรนัยกูร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหัวหน้าคลัสเตอร์ โดยมีทีมวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ในหลายคณะได้แก่คณะเทคนิคการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ แพทยศาสตร์ศิริราช วิทยาศาสตร์และวิทยาลัยคอมพิวเตอร์

“ วันนี้เป็นโอกาสอันดีที่ทาง CEMB ได้ร่วมเป็นสักขีพยานกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเปิดตัวนวัตกรรม Health AI ที่จะมาช่วยประชาชนทั่วไปได้เข้าใจผลการตรวจสุขภาพของตนโดยง่าย ผ่านแอพลิเคชันมือถือ โดยช่วยส่งเสริมให้เข้าใจสภาวะสุขภาพของตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีสุขภาพกายที่ดีต่อไป ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ด้านนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ AI เป็นส่วนช่วยในบริการด้านนี้ เมื่อมีการใช้งานจากทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างกว้างขวางแล้ว ในท้ายที่สุดประโยชน์จะตกอยู่กับประชาชนและระบบของสาธารณสุขของประเทศที่เน้นสาธารณสุขเชิงป้องกัน ที่จะช่วยลดภาระงบประมาณด้านนี้ของประเทศและรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ”

ศาตราจารย์ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะอนุกรรมการ แผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า “Health AI เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ยกระดับเป็นนวัตกรรมจนสู่การเปิดบริการเชิงพาณิชย์ภายใต้การดำเนินงานของเครือข่ายศูนย์ชุดตรวจวินิจฉัยโรค โดย บพข. ให้การสนับสนุนงานประมาณดำเนินงานของศูนย์พัฒนานวัตกรรมและมาตรฐานทางเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด (Center for Innovation and Standard for Medical Technology and Physical Therapy; CISMaP) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 เครือข่ายศูนย์ชุดตรวจวินิจฉัยโรค ทั้งนี้แผนงานสุขภาพและการแพทย์ บพข. มีพันธกิจสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องมือแพทย์ (Medical Devices) และเพิ่มทักษะ (Skills) ด้านการวิจัยจนถึงระบบมาตรฐานสากล โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตประเทศไทยจะมีศักยภาพในการผลิตและยกระดับสู่การแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป”

 ในอากาสนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดรับความร่วมมือทางธุรกิจและการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรม โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ โดยการติดต่อผ่านฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ภาพ : ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ

ข่าว : ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ/คณะเทคนิคการแพทย์

คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลดภาพเพิ่มเติม 

 

KKUINNOPRISE

พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ของมหาวิทยาลัยสู่สังคมและพาณิชย์ทั้งภาครัฐและเอกชน

แหล่งทุน Grantiong Agency

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช)

National Research Council of Thailand (NRCT)

ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

สอวช

สำนักงานนวัตกรรม

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักงานอธิการบดี
อาคาร 2 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

Tel: 043-009700 ต่อ 42129

Tel: 084-3931146

Email: kku.innoprise@gmail.com

Working Hours: 08.30 น. - 16.30 น.

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • ศูนย์สื่อการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • ศูนย์บริการสู่ชุมชน สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน สังกัดวิศวกรรมศาสตร์
  • ศูนย์ภาษาอาเซียน สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ศูนย์บริการจัดการด้านโรงแรม สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก (Academic Clinical Research Office, ACRO) สังกัดคณะแพทยศาสตร์
  • สถานบริการสุขภาพเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด สังกัดคณะเทคนิคการแพทย์
  • สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า | จดทะเบียนธุรกิจ
  • สำนักคณะกรรมการอาหารและยา
  • ศูนย์ทดสอบผลิดตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ศทอ.)
  • กองวิศวกรรมการแพทย์
  • ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ
  • บัญชีนวัตกรรมไทย สวทช.
  • ระบบสืบค้นบัญชีนวัตกรรมไทย
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
69,000

© Copyright KKU. All Rights Reserved