โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบสถานการณ์ระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-2019 ระยะที่ 1 ครั้งที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563
ผู้รับผิดชอบโครงการ
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
- วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน 1,355 คน (ยอดรวมเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 63)
ผลการดำเนินงาน ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2563
- เรียนรู้การดำเนินงานและร่วมปฏิบัติภารกิจกับ อบต./เทศบาล
- เรียน Online ใน Website ของตลาดหลักทรัพย์ ในรายวิชา 1.Digital Marketing 2.Lean Canvas 3.Entrepreneurial Mindset4.Dream Mining 5.Lean Startup
- เรียน Online การสำรวจข้อมูล Online โดยใช้ Google Forms
- ส่งมอบลูกจ้างโครงการฯ ให้กับจังหวัดขอนแก่น กระจายไปทำงานในแต่ละพื้นที่ 26 อำเภอ โดยพบผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายอำเภอ และผู้บริหารท้องถิ่นพี่เลี้ยงในพื้นที่
- เรียนรู้ภารกิจการทำงานของหน่วยงาน /พื้นที่ชุมชนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงาน
- เข้าศึกษาวิชาเรียนในระบบ Online ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET e-Learning) และเรียน 1 วิชา อันได้แก่ วิชา Lean Startup และเข้าเรียนวิชา Online ผ่านระบบ KKU ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในรายวิชา Dream Mining – รู้จักตัวเอง รู้จักพื้นที่กิน
- สำรวจข้อมูลสินทรัพย์การดำรงชีพระดับครัวเรือนของชุมชนตนเอง จำนวน 15 ครัวเรือน
- เรียนรู้ และปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายร่วมกับหน่วยงาน/พื้นที่ชุมชนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงาน
- เก็บรวบรวมข้อมูลระดับตำบล
- เก็บรวบรวมข้อมูลระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
- เก็บรวบรวมข้อมูลระดับครัวเรือน
- เก็บรวบรวมข้อมูลระดับบุคคล
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- เรียนรู้และเข้าใจการดูแลผู้สูงอายุภายใต้ภารกิจของ อปท. และการมีส่วนร่วมของชุมชน
- เรียนรู้และปฏิบัติการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูล
- เรียนรู้แหล่งข้อมูลอื่นๆ เพื่อสนับสนุนและนำมาใช้วางแผนและออกแบบกิจกรรมการดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน
- พัฒนาทักษะและความรู้ (Re skill & Up skill) เกี่ยวกับงานที่มอบหมาย หรือหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และหน่วยงานเครือข่ายเพื่อไปพัฒนาต่อยอดตามทิศทางการพัฒนากำลังคนของประเทศ
- ปฏิบัติงานจริงในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ หรือทำงานตามที่ได้รับมอบหมายและร่วมปฏิบัติงานในภารกิจต่างๆร่วมกับ อปท.ในพื้นที่
- เรียนรู้แหล่งข้อมูลสำหรับนำมาใช้พัฒนาต่อยอดในอาชีพที่สนใจ
- ได้เรียนรู้วิธีการใช้งานอุปกรณ์ IT สำหรับการเรียนรู้ ค้นหาข้อมูล และนำมาใช้เพื่อเป็นต้นทุนในการหารายได้
ปัญหาอุปสรรค
- ความไม่เข้าใจเกี่ยวกับงานและวิธีการปฏิบัติงาน สำหรับผู้รับจ้างใหม่ที่รับเพิ่ม
- การสำรวจข้อมูลในหมู่บ้าน บางพื้นที่ห่างไกลกันมาก และยากลำบากในการเดินทาง
- บางพื้นที่มีสมาชิกที่ปฏิบัติงานเป็นจำนวนน้อย แต่พื้นที่มีขนาดใหญ่ทำให้การดำเนินงานสำรวจข้อมูลไม่สามารถดำเนินการได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด
- ผู้รับจ้างที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการจ้างงานฯบางคนไม่เข้าใจระบบและวิธีการใช้งานในระบบ KKUICOP ทำให้เกิดข้อติดขัดในการรายงานตัว รวมทั้งดาวน์โหลดสัญญาจ้างจากระบบเพื่อจัดพิมพ์นำส่งหน่วยงานจ้าง การบันทึกผลการปฏิบัติงาน การบันทึกผลการเรียน (Up skill/Re skill)
- ปัญหาบัญชีธนาคารไม่ได้ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน สำหรับผู้ที่เข้ามาใหม่แทนตำแหน่งเดิมที่ว่างลง
แนวทางการแก้ไขปัญหา
- สมาชิกใหม่ที่เข้าร่วมดำเนินงาน เฟส 1 ที่รับเพิ่มเติม ได้รับการปฐมนิเทศ และอธิบายรายละเอียดแนวทางในการดำเนินงาน
- การมอบหมายให้ทำงานเป็นทีม มีการช่วยเหลือกัน การแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ และให้พี่เลี้ยงประจำพื้นที่ช่วยกำกับดูแล
- มีการกำหนดพื้นที่ในการสำรวจข้อมูล หรือจำนวนเป้าหมายในการสำรวจให้สอดคล้องกับกำลังคนและระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูล
- การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการจ้างงานฯ ควรเน้นย้ำเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร ภารกิจที่มอบหมายและพื้นที่ที่จะปฏิบัติงาน
- ควรมีการชี้แจง แนะนำแนวทาง และวิธีการใช้งานระบบ KKUICOP ให้กับผู้ที่ได้รับการจ้างงานมากขึ้น
- ให้ผู้ที่มีปัญหาตามข้อ 5 อีเมล์แจ้งเข้ามาที่ kkuicop@gmail.com เพื่อทำการตรวจสอบกับรายการตีกลับที่ได้รับแจ้งจากกองคลัง มข. หากมีชื่อในรายการนั้นก็แสดงว่ามีปัญหาเรื่องพร้อมเพย์แต่หากไม่มีรายชื่อปัญหาเกิดจากผู้เข้าร่วมโครงการฯมีการผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชนเรียบร้อยแล้วแต่เกิดความสับสนว่าผูกกับธนาคารใด